riko logo
--  RiKO  SENSORS  THILAND --

 
telephone symbol button  Tel : 02-821-5135
            HotLine : 093-915-1642
line riko thailandfacebook riko thailand

เลือกใช้ Fiber optic sensor หรือ Photoelectric sensor?

                                 บางคนอาจสงสัยการเลือกใช้งานระหว่าง Fiber optic sensor และ Photoelectric sensor ว่าควรเลือกใช้เมื่อไหร่ เนื่องจากเซนเซอร์ทั้งสองประเภทอาศัยหลักการทำงานการสะท้อนของแสงในการตรวจจับชิ้นงานเหมือนกัน แล้วเราควรใช้เมื่อไรและเซนเซอร์ทั้งสองประเภทแตกต่างกันอย่างไร (สามารถดูบทความหลักการทำงานเพิ่มเติมได้ที่ ไฟเบอร์ออบติกเซนเซอร์คืออะไร? หลักการทำงานของโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ ) เบื้องต้นเรามาดูลักษณะรูปร่างกันก่อน

โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ / Photoelectric sensor

 photo sensor pic

            Photoelectric sensor มีลักษณะรูปร่างเป็นทรงสีเหลี่ยมหรือทรงกระบอกตามแต่ผู้ผลิตต่างๆ โดยภายในจะชุดปล่อยแสงผ่านเลนส์ด้านหน้าเพื่อยิงไปยังวัตถุและชุดรับเพื่อรับแสงจากการสะท้อนกลับมายังวงจรเพื่อประมวลผลในการตรวจจับวัตถุ โดยทั่วไปแล้วโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์จะมีขนาดรูปร่างค่อนข้างใหญ่ แต่อาจจะมีบางรุ่นที่มีขนาดเล็กตามแต่ละยี่ห้อ 

ไฟเบอร์ออพติกเซนเซอร์ / Fiber Optic sensor

                               จะประกอบด้วย สายไฟเบอร์ออฟติกและไฟเบอร์แอมป์พลิฟายเออร์  โดย สายไฟเบอร์มีหน้าที่นำพาแสงจากไฟเบอร์แอมป์พลิฟายเออร์ไปยังวัตถุพร้อมรับแสงที่สะท้อนกลับเข้าไปสู่ไฟเบอร์แอมพลิฟายเออร์เพื่อประมวลผลต่อไป

fiber optic pic     Fiber optic sensor จะมีส่วนประกอบด้วยกัน 2 ส่วนคือ ไฟเบอร์แอมพลิฟายเออร์ และสายไฟเบอร์ออพติก โดยไฟเบอร์แอมพลิฟายเออร์มีวงจรภายในมีหน้าที่ในการปล่อยแสงเพื่อยิงไปยังวัตถุและส่วนภาครับแสงเพื่อคำนวณปริมาณแสงที่กลับมาและทำหน้าที่ในการตัดสินใจว่ามีวัตถุที่ต้องการตรวจจับหรือไม่ ส่วนสายไฟเบอร์ออพติกจะต่อเข้ากลับไฟเบอร์แอมพลิฟายเออร์เพื่อนำพาแสงออกไปยังส่วนปลายที่ส่องไปยังวัตถุ และรับแสงที่สะท้อนกลับมาส่งไปยังไฟเบอร์แอมพลิฟายเออร์เพื่อประมวลผลต่อไป

 

ความแตกต่างระหว่าง Fiber optic sensors กับ Photoelectric sensors

       

photo sensor detect small object          แสงที่ปล่อยออกจากโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์จะกระจายออกเป็นมุม 60 องศา เมื่อต้องการตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็ก ปริมาณแสงที่จะสะท้อนวัตถุกลับไปยังเซนเซอร์จะน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณแสงที่ปล่อยออกมา จึงทำให้โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์จะไม่รู้ว่ามีวัตถุเข้ามาหรือไม่

 

fiber sensor detect small object         แสงที่ปล่อยออกจากแอมพลิฟายเออร์จะถูกสายไฟเบอร์ออพติกนำพาแสงไปยังวัตถุให้ใกล้ที่สุด ดังนั้นแสงที่จะสะท้อนวัตถุกลับมาจึงมีปริมาณมากเมื่อเทียบกลับปริมาณแสงที่ปล่อยออกไป

 

สรุปความแตกต่างและการเลือกใช้ Fiber optic sensors และ Photoelectric sensors

 Topic  Photoelectric sensors Fiberoptic sensors
ขนาดของวัตถุที่ต้องการตรวจจับ ตรวจจับชิ้นงานทั่วไปและขนาดใหญ่ ตรวจจับได้เล็กกว่า 
ระยะการตรวจจับ (Diffuse Type) ได้ไกลกว่า ได้ระยะใกล้ๆ
พื้นที่ในการติดตั้ง ใช้พื้นที่มากกว่า ใช้พื้นที่น้อยกว่า
(สายไฟเบอร์มีให้เลือกใช้งานจำนวนมาก)
ความเร็วในการตรวจจับ ช้ากว่า เร็วกว่า
 ราคา ถูกกว่า แพงกว่า

เลือกใช้งาน Area sensor อย่างไร?

                             AREA SENSOR RIKO ASP4004               AREA SENSOR RIKO ASP2016

                   เซนเซอร์ม่านแสง (Area Sensor)  ประกอบด้วยตัวส่งและตัวรับ ลักษณะเป็นแท่งยาว ติดตั้งเข้าหากันเหมือนโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์แต่จะปล่อยแสงออกมาหลายแกนลำแสงลักษณะเหมือนม่าน ระยะห่างระหว่างแกนลำแสงและความถี่ขึ้นอยู่กับรุ่นและความยาว การประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ม่านแสง (Area Sensor) โดยมากใช้ในการป้องกันมือและร่างกายผู้ปฎิบัติงานที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร หรือใช้ตรวจจับวัตถุเป็นพื้นที่กว้างหรือวัตถุที่เคลื่อนที่ไม่แน่นอน

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกเซนเซอร์ม่านแสง (Area Sensor)

RIKO AREA SENSOR SELECTION GUIDE
  1. ระยะห่างแกนลำแสงที่ใช้ในการตรวจจับ โดยทั่วไปแล้วจะมีระยะห่าง 10,20,40มม.ให้เลือก ขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งที่เคลื่อนผ่านม่านแสง โดยที่ระยะห่างแกนลำแสงต้องน้อยกว่าขนาดของวัตถุ
  2. ความสูงของม่านแสง เพื่อให้ครอบคลุมกับพื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการตรวจจับ
  3. ระยะห่างระหว่างตัวส่งและตัวรับ สามารถติดตั้งได้ไกลพอที่จะครอบคลุมพื้นที่ด้านกว้างได้พอ

 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ม่านแสง (Area Sensors)

application for area sensor riko
ใช้เซนเซอร์ในการตรวจสอบการนำเข้าออกของอะไหล่

application for area sensor riko 2 
ตรวจจับวัตถุหลังจากการฉีดขึ้นรูป

application for area sensor riko 1
ป้องกันผู้ปฎิบัติยื่นมือเข้าไปขณะเครื่องจักรทำงาน

application for area sensor riko 3 
ตรวจนับสินค้าปลายสายพาน


 

 

  

                    

         

เข้าใจการทำงานของ Photoelectric Sensors

                     photoelectric sensor pk3           photoelectric sensor rj       photoelectric sensor mmf

      โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ (Photoelectric sensor) หรือเรียกว่า สวิทซ์ลำแสง มีลักษณะรูปร่างจะมีทั้งทรงกระบอกและทรงสี่เหลี่ยมตามแต่ละรุ่นแตกต่างกันไป โดยใช้แสงในการตรวจจับวัตถุที่ต้องการซึ่งแสงที่ใช้นั้นจะมีทั้งแบบอินฟาเรด (infrared) และแบบแสงสีแดง (Red LED) โดยโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์จะประกอบด้วยภาคส่งคือส่วนที่ทำหน้าที่ปล่อยแสงออกมา และภาครับส่วนที่มีหน้าทีรับแสงจากวัตถุที่สะท้อนกลับมาหรือแสงที่มาจากตัวส่ง โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ (photoelectric sensor) จะแบ่งตามการตรวจจับได้ 3 ประเภท

1. Diffuse Type หรือ แบบประเภทหัวเดียวไปกลับ 
                    

photo selection diffuse

Diffuse Type  ภาคส่งและภาครับอยู่ในตัวเดียวกัน

  • กรณีไม่มีวัตถุ แสงที่ปล่อยออกจากภาคส่งจะไม่ตกกระทบสิ่งของใดๆ ทำให้ไม่มีแสงสะท้อนกลับมาที่ภาครับ
  • กรณีมีวัตถุ  แสงที่ปล่อยออกจากภาคส่งจะสะท้อนวัตถุแสงจึงย้อนกลับเข้าสู่ภาครับ
              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงที่แตกต่างในขณะมีและไม่มีวัตถุทำให้เซนเซอร์แยกแยะและตรวจจับวัตถุได้

             

2.Thrubeam Type หรือ แบบประเภทสองหัว

photo selection thrubeam

Thrubeam Type  ภาคส่งและภาครับแยกกัน

  • กรณีไม่มีวัตถุ แสงจากตัวส่งจะส่องถึงตัวรับโดยตรง
  • กรณีมีวัตถุ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผ่านระหว่างตัวส่งและตัวรับ ทำให้แสงถูกบังตัวรับจึงไม่ได้รับแสง
              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงที่แตกต่างในขณะมีและไม่มีวัตถุทำให้เซนเซอร์แยกแยะและตรวจจับวัตถุได้

                         

3.Retroreflective Type หรือ แบบประเภทแผ่นสะท้อน

photo selection retro

Retroreflective Type  ภาคส่งและรับอยู่ในตัวเดียวกันพร้อมแผ่นสะท้อน

  • กรณีไม่มีวัตถุ แสงที่ปล่อยออกจากภาคส่งจะสะท้อนแผ่นสะท้อนกลับเข้าไปยังภาครับ
  • กรณีมีวัตถุ  เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผ่านระหว่างเซนเซอร์และแผ่นสะท้อน แสงจึึงถูกบังไม่ถึงแผ่นสะท้อน ทำให้ตัวรับไม่ได้รับแสง
              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงที่แตกต่างในขณะมีและไม่มีวัตถุทำให้เซนเซอร์แยกแยะและตรวจจับวัตถุได้

                          

เลือกใช้โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ประเภทไหนดี?

                 โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ตามแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความสะดวกและพื้นที่ในการติดตั้ง ประเภทของวัตถุที่ต้องการตรวจจับ และความเสถียรในการตรวจจับ ตามตารางเปรียบเทียบประเภทของการตรวจจับที่แสดงด้านล่าง

โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์  แบบตรวจจับหัวเดียว
(Diffuse Type)
 แบบตรวจจับแผ่นสะท้อน
(Retro Reflective Type)
 แบบตรวจสองหัว
(Thrubeam Type)
ประเภท photo selection diffuse photo selection retro photo selection thrubeam
การติดตั้ง ง่ายกว่า ปานกลาง ยากกว่า
การตรวจจับ เสถียรน้อยสุด เสถียรปานกลาง เสถียรมากที่สุด
ระยะตรวจจับ น้อยที่สุด ปานกลาง ไกลที่สุด