หลักการทำงานของ Inductive Proximity Sensors
พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) คือพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์แบบอิเล็คโทรนิคที่สามารถตรวจจับวัตถุประเภทโลหะโดยปราศจากการสัมผัสส่วนของเซนเซอร์จะประกอบด้วยวงจรเหนี่ยวนำ โดยจะมีวงจรกำเนิดความถี่ และกระแสไฟฟ้าจะสร้างสนามแม่่เหล็กให้เกิดขึ้นซึ่งมีความถี่สูง เมื่อมีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็นโลหะเคลื่อนเข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กที่วงจรสร้างขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าของความเหนี่ยวนำ ซึ่งจะทำให้เกิดการหน่วงทำให้ความถี่(oscilate)ลดลงหรือหยุุดลง และหากนำวัตถุนั้นออกจากบริเวณสนามแม่เหล็ก วงจรกำเนิดความถี่ก็จะเริ่มกลับมาทำให้เกิดความถี่(oscilate)ขึ้นใหม่อีกครั้ง ความแตกต่างดังกล่าวจะถูกตรวจจับด้วยวงจรภายใน ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจจับวัตถุประเภทโลหะต่างๆได้โดยไม่ต้องสัมผัส
ข้อดีของการใช้พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Inductive Proximity Sensor)
- แสงและฝุ่นภายนอกจะไม่มีผลต่อการตรวจจับ เพราะใช้หลักการเหนี่ยวนำซึ่งแตกต่างจากโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์หรือสวิทซ์ลำแสง
- ตรวจจับเฉพาะโลหะดังนั้น หากมีวัตถุที่ไม่ใช่โลหะเข้ามาจะไม่มีผลต่อการตรวจจับ
- สีของวัตถุไม่มีผลต่อการตรวจจับ
- ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอินดักทีฟพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Inductive Proximity Sensor)