riko logo
--  RiKO  SENSORS  THILAND --

 
telephone symbol button  Tel : 02-821-5135
            HotLine : 093-915-1642
line riko thailandfacebook riko thailand

LABEL SENSOR SU07 NP PROMOTE MAINPAGE   LASER SENSOR LS5 MAINPAGE GIF   WARNING LIGHT FORKLIFT MAINPAGE GIF

เข้าใจการทำงานของ Photoelectric Sensors

                     photoelectric sensor pk3           photoelectric sensor rj       photoelectric sensor mmf

      โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ (Photoelectric sensor) หรือเรียกว่า สวิทซ์ลำแสง มีลักษณะรูปร่างจะมีทั้งทรงกระบอกและทรงสี่เหลี่ยมตามแต่ละรุ่นแตกต่างกันไป โดยใช้แสงในการตรวจจับวัตถุที่ต้องการซึ่งแสงที่ใช้นั้นจะมีทั้งแบบอินฟาเรด (infrared) และแบบแสงสีแดง (Red LED) โดยโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์จะประกอบด้วยภาคส่งคือส่วนที่ทำหน้าที่ปล่อยแสงออกมา และภาครับส่วนที่มีหน้าทีรับแสงจากวัตถุที่สะท้อนกลับมาหรือแสงที่มาจากตัวส่ง โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ (photoelectric sensor) จะแบ่งตามการตรวจจับได้ 3 ประเภท

1. Diffuse Type หรือ แบบประเภทหัวเดียวไปกลับ 
                    

photo selection diffuse

Diffuse Type  ภาคส่งและภาครับอยู่ในตัวเดียวกัน

  • กรณีไม่มีวัตถุ แสงที่ปล่อยออกจากภาคส่งจะไม่ตกกระทบสิ่งของใดๆ ทำให้ไม่มีแสงสะท้อนกลับมาที่ภาครับ
  • กรณีมีวัตถุ  แสงที่ปล่อยออกจากภาคส่งจะสะท้อนวัตถุแสงจึงย้อนกลับเข้าสู่ภาครับ
              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงที่แตกต่างในขณะมีและไม่มีวัตถุทำให้เซนเซอร์แยกแยะและตรวจจับวัตถุได้

             

2.Thrubeam Type หรือ แบบประเภทสองหัว

photo selection thrubeam

Thrubeam Type  ภาคส่งและภาครับแยกกัน

  • กรณีไม่มีวัตถุ แสงจากตัวส่งจะส่องถึงตัวรับโดยตรง
  • กรณีมีวัตถุ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผ่านระหว่างตัวส่งและตัวรับ ทำให้แสงถูกบังตัวรับจึงไม่ได้รับแสง
              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงที่แตกต่างในขณะมีและไม่มีวัตถุทำให้เซนเซอร์แยกแยะและตรวจจับวัตถุได้

                         

3.Retroreflective Type หรือ แบบประเภทแผ่นสะท้อน

photo selection retro

Retroreflective Type  ภาคส่งและรับอยู่ในตัวเดียวกันพร้อมแผ่นสะท้อน

  • กรณีไม่มีวัตถุ แสงที่ปล่อยออกจากภาคส่งจะสะท้อนแผ่นสะท้อนกลับเข้าไปยังภาครับ
  • กรณีมีวัตถุ  เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผ่านระหว่างเซนเซอร์และแผ่นสะท้อน แสงจึึงถูกบังไม่ถึงแผ่นสะท้อน ทำให้ตัวรับไม่ได้รับแสง
              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงที่แตกต่างในขณะมีและไม่มีวัตถุทำให้เซนเซอร์แยกแยะและตรวจจับวัตถุได้

                          

เลือกใช้โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ประเภทไหนดี?

                 โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ตามแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความสะดวกและพื้นที่ในการติดตั้ง ประเภทของวัตถุที่ต้องการตรวจจับ และความเสถียรในการตรวจจับ ตามตารางเปรียบเทียบประเภทของการตรวจจับที่แสดงด้านล่าง

โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์  แบบตรวจจับหัวเดียว
(Diffuse Type)
 แบบตรวจจับแผ่นสะท้อน
(Retro Reflective Type)
 แบบตรวจสองหัว
(Thrubeam Type)
ประเภท photo selection diffuse photo selection retro photo selection thrubeam
การติดตั้ง ง่ายกว่า ปานกลาง ยากกว่า
การตรวจจับ เสถียรน้อยสุด เสถียรปานกลาง เสถียรมากที่สุด
ระยะตรวจจับ น้อยที่สุด ปานกลาง ไกลที่สุด

 

Fiber Optic Sensor ทำงานอย่างไร?

       ไฟเบอร์ออบติกเซนเซอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมี หรือ ไม่มีของวัตถุที่ต้องการจะตรวจจับ โดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่กระทบกับวัตถุและสะท้อนกลับมายังเซนเซอร์ คล้ายกับการทำงานของโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ (photolelectric sensor) แต่สามารถตรวจจับชิ้นงานได้เล็กกว่า ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงวัตถุได้ละเอียดกว่า

how fiberoptic sensor work pic2
       ไฟเบอร์ออบติกเซนเซอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์สองชิ้นประกอบเข้าด้วยกัน คือ
1.ไฟเบอร์แอมพลิฟายเออร์ (Fiber Amplifier) ทำหน้าที่หลักๆในการปล่อยแสงออกไปยังสายไฟเบอร์ออพติกและเป็นส่วนในการประมวลผลในการตรวจจับวัตถุ ส่วนคุณสมบัติอื่นๆจะแตกต่างกันตามแต่ละรุ่น 

                     fiber amplifier riko br3 np     

2.หัวไฟเบอร์ออบติก (Fiber Optic) สายไฟเบอร์มีความสำคัญในการนำพาแสงจากส่วนของแอมป์พลิฟลายเออร์ไปยังวัตถุที่ต้องการตรวจจับ ซึ่งหัวไฟเบอร์ออบติกจะมีหลายรูปแบบให้เลิอกใช้งานให้เหมาะแก่การใช้งานและติดตั้ง

                      fiber optic sensor riko

  
หลักการทำงานของไฟเบอร์เซนเซอร์

         ทำงานโดยวงจรภายในแอมพลิไฟเออร์กำเนิดแสงและยิงแสงออกมาผ่านไปยังสายไฟเบอร์ที่หัวส่ง(Transmitter) ไปกระทบกับวัตถุ และสะท้อนกลับมายังหัวรับ(Receiver) แล้วส่งกลับไปยังแอมพลิไฟเออร์ ทำการประมวลผลจากค่าความเข้มแสงสะท้อนกลับมาเป็นตัวเลข

how fiberoptic sensor work pic1

 เมื่อแอมป์พลิฟลายเออร์ประมวลผลแสงที่สะท้อนกลับมาเป็นตัวเลข เราสามารถตั้งค่า Threshold เพื่อให้แอมป์พลิฟลายเออร์ตัดสินใจในการส่งสัญญาณเอาท์พุทออกมาในกรณีที่ตัวเลขแสงที่สะท้อนกลับมาเกินกว่าหรือต่ำกว่าค่า Threshold ที่ตั้งขึ้น

 how fiberoptic sensor work pic3

ข้อดีของการใช้ไฟเบอร์ออปติกเซนเซอร์ (Fiber OpticSensors)
1.ขนาดของหัวไฟเบอร์ออปติกที่มีขนาดเล็ก ทำให้เหมาะกับการใช้งานกับพื้นที่จำกัดหรือตรวจจับชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก
2.สามารถใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงได้ เนื่องจากสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นเป็นแค่ตัวนำสัญญาณแสงโดยที่ไม่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายใน (แต่ตัวแอมพลิไฟเออร์ต้องลากออกไปข้างนอก)
3.มีหลายแบบให้เลือกใช้ตามการใช้งาน เช่น รุ่นทนความร้อน สูงสุด 300 องศา หรือ รุ่นทนสารเคมี
4.สามารถจับวัตถุหรือจุดที่มีความแตกต่างกันน้อยได้ดีกว่าเซ็นเซอร์ประเภทโฟโต้อิเล็คทริคเซ็นเซอร์


Capacitive Proximity Sensors คืออะไร?

                             main page riko capacitive proximity product               RIKO KC3035 CAPACITIVE PROXIMITY

                   พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (capacitive proximity sensor) เป็นเซนเซอร์ (sensor) อีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส ใช้ตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิดทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เช่น แก้ว น้ำ ไม้ พลาสติก กระดาษ และอื่น ๆ โดยความสามารถในการตรวจจับขึ้นอยู่กับค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant, k) ของวัตถุ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุมีลักษณะรูปร่าง และโครงสร้างคล้ายกับพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) แต่ใช้หลักการทำงานที่แตกต่างกัน

                   พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุ เมื่อวัตถุเป้าหมายเคลื่อนที่เข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าที่กำเนิดโดยแอกทีฟอิเล็กโทรดและเอิทธ์อิเล็กโทรด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างหน้าพร็อกซิมิตี้และวัตถุเป้าหมาย ขนาดและรูปร่างของวัตถุ และชนิดของวัตถุเป้าหมาย (ค่าคงที่ไดอิเล็กตริก) เมื่อค่าความจุเปลี่ยนแปลงจนถึงค่า ๆ หนึ่ง ซึ่งเท่ากับค่าความต้านทานที่ปรับไว้ในตอนเริ่มต้น จะส่งผลให้เกิดการออสซิลเลทสัญญาณขึ้นและส่งต่อให้เอาต์พุตทำงาน เรียกสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ว่า อาร์-ซี รีโซแนนซ์ (R - C Resonance) ส่วนประกอบและการทำงานของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุแสดงดังรูป

how works capacitive proximity sensor pic2

how work capacitive proximity sensor pic1

                    พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุสามารถปรับค่าความไว (sensitivity) ในการตรวจจับได้โดยการปรับค่าความต้านทาน ซึ่งสัมพันธ์กับการปรับระยะการตรวจจับใกล้/ไกล หรือใช้สำหรับการปรับแต่งให้ตรวจจับข้ามผ่านวัตถุที่ขวางกั้นหน้าวัตถุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น การตรวจจับระดับของเหลวที่บรรจุในขวด การตรวจจับสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายในกล่อง เป็นต้น

ระยะการตรวจจับของพร็อกซิมิตี้ชนิดเก็บประจุขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างตัวพร็อกซิมิตี้กับวัตถุ และชนิดของวัตถุที่ต้องการตรวจจับ โดยวัตถุที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกสูงจะถูกตรวจจับได้ดีกว่าวัตถุที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกต่ำ ในกรณีที่วัตถุเป้าหมายเป็นโลหะระยะการตรวจจับจะเท่ากันหมดไม่ว่าจะเป็นโลหะชนิดใดก็ตาม

เราใช้พร็อกคาปาซิทีฟเซนเซอร์ (Capacitive proximity senosr) ตรวจจับอะไรได้บ้าง
                 เนื่องด้วยคุณสมบัติของ พร็อกคาปาซิทีฟเซนเซอร์  (Capacitive Proximity Sensor) สามารถตรวจจับได้ทั้งโลหะและอโลหะ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก น้ำ น้ำมัน แก้ว กระดาษ ทำให้เราสามารถใช้คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้ได้อย่างหลากหลายและหลักการทำงานที่ใช้การเหนี่ยวนำซึ่งต่างจากเซนเซอร์ที่ใช้หลักการของแสงทำให้ แสงหรือฝุ่นจากภายนอกไม่ส่งผลกระทบต่อการตรวจจับ ตัวอย่างในการนำเซนเซอร์ไปประยุกต์ใช้งาน เช่น การตรวจจับระดับน้ำในถัง, การตรวจจับระดับเม็ดพลาสติกในถังก่อนส่งเข้าเครื่องฉีด, ตรวจจับงานซ้อนกัน, ตรวจจับวัตถุประเภทแก้วหรือกระจก (ซึ่งค่อนข้างยากในการใช้โฟโต้เซนเซอร์ทั่วไป) , ตรวจจับสินค้าในกล่องบรรจุ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานพร็อกคาปาซิทีฟเซนเซอร์ (Capacitive proximity senosr) 

detect rice plastic level in tank

              ตรวจจับระดับข้าวหรือเม็ดพลาสติกในแท๊งค์แบบไม่ต้องสัมผัส

detect fill in level

                                  ตรวจจับระดับการเติมของเหลวลงในขวดแบบไม่สัมผัส

 

 detect liquid flow

             ตรวจจับการของเหลวไปท่อเพื่อทำระบบควบคุมการไหล

หลักการทำงานของ Inductive Proximity Sensors

                 inductive proximity senosr riko

                 พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) คือพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์แบบอิเล็คโทรนิคที่สามารถตรวจจับวัตถุประเภทโลหะโดยปราศจากการสัมผัสส่วนของเซนเซอร์จะประกอบด้วยวงจรเหนี่ยวนำ โดยจะมีวงจรกำเนิดความถี่ และกระแสไฟฟ้าจะสร้างสนามแม่่เหล็กให้เกิดขึ้นซึ่งมีความถี่สูง เมื่อมีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็นโลหะเคลื่อนเข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กที่วงจรสร้างขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าของความเหนี่ยวนำ ซึ่งจะทำให้เกิดการหน่วงทำให้ความถี่(oscilate)ลดลงหรือหยุุดลง และหากนำวัตถุนั้นออกจากบริเวณสนามแม่เหล็ก วงจรกำเนิดความถี่ก็จะเริ่มกลับมาทำให้เกิดความถี่(oscilate)ขึ้นใหม่อีกครั้ง ความแตกต่างดังกล่าวจะถูกตรวจจับด้วยวงจรภายใน ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจจับวัตถุประเภทโลหะต่างๆได้โดยไม่ต้องสัมผัส

inductive sensor oscillate

ข้อดีของการใช้พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Inductive Proximity Sensor)

  • แสงและฝุ่นภายนอกจะไม่มีผลต่อการตรวจจับ เพราะใช้หลักการเหนี่ยวนำซึ่งแตกต่างจากโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์หรือสวิทซ์ลำแสง
  • ตรวจจับเฉพาะโลหะดังนั้น หากมีวัตถุที่ไม่ใช่โลหะเข้ามาจะไม่มีผลต่อการตรวจจับ
  • สีของวัตถุไม่มีผลต่อการตรวจจับ 
  • ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอินดักทีฟพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Inductive Proximity Sensor)

inductive proximity sensor application 1 inductive proximity sensor application 2

 

inductive proximity sensor application 3  inductive proximity sensor application 4